การสำรวจของ Randstad Workmonitor ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2562 พบว่าพนักงาน 1 ใน 4 คนรู้สึกไม่สบายใจในช่วงเวลาการประเมินผลการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นร้อยละ 47 ของผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในสิงคโปร์จะได้รับการประเมินเพียงปีละครั้งเท่านั้น มากไปกว่านั้นร้อยละ 15 ของคนจำนวนนี้ ไม่ถูกเรียกให้ตอบข้อสงสัยใด ๆ เลยระหว่างการประเมิน
ประเด็นนี้ยังคงถูกเพิกเฉยแม้มันจะเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อกำไรสุทธิของทุกๆ องค์กร
การประเมินผลงานมีความสำคัญในการช่วยให้แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นได้ระดมความคิดและเข้าใจว่าส่วนไหนที่ยังต้องปรับปรุงและส่วนไหนที่ทำได้ดีอยู่แล้ว
หากทำถูกวิธี การประเมินผลงานอาจถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาอาชีพของพนักงานที่จะคงอยู่กับบริษัทก็ว่าได้
หากคุณกำลังประสบปัญหาในการนำเอาวิธีการประเมินผลงานที่ดีมาใช้ในองค์กรของคุณ คุณสามารถเริ่มก้าวแรกได้ด้วยห้าขั้นตอนดังต่อไปนี้:
- เริ่มต้นด้วยแผนการทำงานที่เปี่ยมประสิทธิภาพกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจโดยแบ่งผลลัพธ์ออกเป็นเอกเทศในแต่ละขั้น รวมไปถึงการวัดผลงานที่ชัดเจน และปรับปรุงแผนงานให้ทันสมัยตลอดทั้งปีเมื่อมี การเปลี่ยนแปลงใด ๆ แผนการทำงานที่ชัดเจนจะช่วย ลดระยะเวลาในการร่างการประเมินได้มากทีเดียว
- ประเมินผลให้บ่อยขึ้น
การประเมินผลงานรายปีแบบเดิม ๆ นั้นเป็นจุดอ่อนหลัก เนื่องจากทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการทำงานทั้งที่ดีและ ไม่ดีในตลอดระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมาจะถูกรวบรวมมาประเมินในเพียงครั้งเดียว ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นอะไรที่ไม่น่าพิสมัยเชยชม ทั้งมันยังไม่สะท้อนให้เห็นถึง ความพยายามต่าง ๆ นานาที่พนักงานคนหนึ่งได้ทำประโยชน์อะไรให้กับบริษัทไว้บ้างในรอบปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของผลที่ติดตามมา กล่าวคือ อะไรก็ตามที่เป็นระเบียบแบบแผนที่พร้อมให้นำไปปฏิบัติตั้งแต่ต้นปีไม่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 12 เดือนต่อจากนั้นได้ ในระหว่างปีอาจมีการเพิ่มขอบเขตงานใหม่หรือแม้กระทั่งการกำหนดกรอบงานใหม่ แบบฟอร์มการประเมินผลแบบทั่วไปที่มีใช้กันทั่วทุกหนระแหงนั้นแทบจะไม่สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้เลย.
- สอนให้ผู้จัดการรู้ที่จะให้และรับฟังผลสะท้อน
สอนให้พวกเขามีวิธีการให้ข้อเสนอแนะที่ท้าทายอันจะนำไปสู่ความสำเร็จของพนักงาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้จัดการทั้งหลายทราบถึงกระบวนการประเมินและวิธีการกรอกแบบฟอร์มที่มีประสิทธิภาพที่สุด การที่บรรดาผู้จัดการรู้ตัวว่าต้องประเมินบ่อยขึ้นนั้นเป็นผลดีต่อทุกฝ่าย เนื่องจากพวกเขาต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนในฝ่ายให้เป็นกิจวัตร และถ้าพวกเขาเป็นผู้จัดการที่ดีพอก็จะต้องสรรหาวิธีการที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
- มีความคิดสร้างสรรค์
มุ่งเป้าไปที่การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะหรือการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน อาจเป็นเรื่องง่ายที่จะจับจ้องอยู่กับงานชิ้นล่าสุดและอะไรที่สำคัญ แต่นั่นเองคือเหตุผลที่การแบ่งผลลัพธ์ออกเป็นส่วน ๆ นั้นสมเหตุสมผล เพราะจะช่วยให้เห็นเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น โดยการมองแค่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นสัปดาห์ก่อนและสิ่ง ที่จะตามมาให้สัปดาห์ถัดไป
- ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้การประเมินผลทำได้บ่อยขึ้น
แอพพลิเคชั่นอย่าง Performance ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ เช่น MBO, OKR และ KPI การนำเทคโนโลยีมาใช้ใน การแก้ไขปัญหานี้ยังช่วยให้ผู้ใช้ก้าวข้ามงานเอกสารที่จำเจ ที่อาจทำให้เกิดการผัดวันประกันพรุ่ง อีกทั้งช่วยให้การทำงานไม่สะดุด นายจ้างและพนักงานทั้งหลายจะได้มีมุมมองเกี่ยวกับการประเมินผลในภาพรวมด้วยข้อมูลเชิงลึกอันจะช่วยให้ให้เข้าใจข้อมูลนั้นได้ ลึกซึ้งมากขึ้น
To learn more about Performance Click Here